เมนู

อธิบายจิตดวงที่ 2



บัดนี้ เพื่อแสดงมหากุศลจิตมีจิตดวงที่ 2 เป็นต้น จึงเริ่มคำเป็นต้น
ว่า กตเม ธมฺมา ดังนี้อีก. แม้ในจิตเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบมหาวาระ
ดวงละ 3 วาระโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐมจิต และไม่ใช่มหาวาระอย่างเดียว
เท่านั้น แม้อรรถแห่งบททั้งปวงเช่นกับคำที่กล่าวในปฐมจิต ก็พึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. เพราะว่า เบื้องหน้านี้ไปข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนา
ตามลำดับบท เบื้องต้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตดวงที่ 2 ก่อน.
คำว่า สสํขาเรน นี้เท่านั้นเป็นคำยังไม่เคยพรรณนา พึงทราบ
เนื้อความแห่งคำว่า สสํขาเรน นั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สสังขาร (การชักชวน)
เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร อธิบายว่า มีสังขารนั้น คือ มีการประกอบ มีอุบาย
มีปัจจัยเป็นหมู่ จริงอยู่ ปฐมจิต (มหากุศลจิตดวงที่ 1) ย่อมเกิดขึ้นด้วย
หมู่แห่งปัจจัยมีอารมณ์เป็นต้น อันใด จิตดวงที่ 2 นี้ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยหมู่
แห่งปัจจัยโดยมีปโยคะ มีอุบายนั้นเหมือนกัน.
พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ 2 นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปใน
พระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่ในที่สุดแห่งวิหาร เมื่อถึงเวลากวาดลานพระเจดีย์
หรือถึงเวลาบำรุงพระเถระ หรือถึงวันฟังธรรม ก็คิดว่า เมื่อเราไปแล้วกลับมา
จักไกลยิ่ง เราจักไม่ไป ดังนี้ แล้วคิดอีกว่า ชื่อว่า การปัดกวาดลาน
พระเจดีย์
หรือการบำรุงพระเถระ หรือการไม่ไปฟังธรรมไม่สมควรแก่ภิกษุ
เราจักไป ดังนี้ จึงไป. กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้กระทำปโยคะของตน
หรือถูกผู้อื่นแสดงโทษในการไม่ทำวัตรเป็นต้น และอานิสงส์ในการกระทำแล้ว
กล่าวสอนอยู่ หรือแก่ภิกษุที่ถูกสั่งให้กระทำว่า เจ้าจงมาจงกระทำสิ่งนี้ ดังนี้
ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นโดยมีสังขาร มีหมู่แห่งปัจจัย ดังนี้.
จบจิตดวงที่ 2

อธิบายจิตดวงที่ 3



ในจิตดวงที่ 3 บทว่า ญาณวิปฺปยุตตํ ความว่า จิตไม่ประกอบ
ด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตญาณวิปปยุตนี้จะร่าเริงยินดีแล้วใน
อารมณ์ แต่ว่าในจิตดวงที่ 3 นี้ไม่มีญาณเป็นเครื่องกำหนด เพราะฉะนั้น
จิตที่เป็นญาณวิปปยุตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็ก ๆ
เห็นภิกษุแล้วไหว้ด้วยคิดว่า พระเถระนี้ของพวกเราดังนี้ และในกาลต่าง ๆ
มีการไหว้พระเจดีย์และการฟังธรรมเป็นต้น โดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็ในพระบาลี
จิตดวงที่ 3 นี้ ไม่มีปัญญาในที่ 7 แห่ง คำที่เหลือเป็นไปตามปกติ คือ เช่นกับ
ที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
จบจิตดวงที่ 3

อธิบายจิตดวงที่ 4



แม้ในจิตดวงที่ 4 ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่จิตดวงที่ 4 นี้ เพราะพระ-
บาลีว่า สสํขาเรน (การชักชวน) พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่มารดาบิดา
จับศีรษะเด็กเล็ก ๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนา
จะไหว้ก็ร่าเริงยินดี.
จบจิตดวงที่ 4

อธิบายจิตดวงที่ 5 เป็นต้น



ในจิตดวงที่ 5 บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ ได้แก่ สัมปยุตด้วย
อุเบกขาเวทนา เพราะว่า อุเบกขาสหคตะนี้ ย่อมเป็นกลางในอารมณ์ ในจิต
ดวงที่ 5 นี้ มีญาณเป็นเครื่องกำหนดโดยแท้. ก็ในจิตดวงที่ 5 นี้ในบาลี